เลือกตั้ง 2562

ข่าวจริง หรือ ข่าวปลอม?

น้ำมะนาวรักษาโรคมะเร็งจนหายขาด…

หญิงไทยต้องเกณฑ์ทหาร….

‘จา พนม’ เสียชีวิตแล้ว…

นม 7-11 ทำเด็กตาย…

ข่าวใหญ่ น่าตกใจ น่าโมโหสุดๆ แต่เห็นแล้วอย่าเพิ่งรีบเเชร์! ช่วงนี้ข่าวปลอม (fake news) ระบาดหนัก และเริ่มล้ำขึ้นเรื่อยๆ ด้วยข้อมูลเนียนๆ และภาพที่ดูน่าเชื่อถือ

ด้วยความปรารถนาดี เราจึงอยากช่วยให้ทุกคนสร้างภูมิต้านทานขณะเปิดรับข่าวสารในโซเชียลมีเดีย และตรวจสอบให้แน่ใจก่อนจะกดแชร์ต่อ

ก่อนอื่น เราขอทดสอบความสามารถของคุณว่ามีทักษะการสแกนข่าวปลอมอยู่ระดับไหน และในฐานะที่คุณเป็นหนึ่งใน 8 แสนเสียงที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนแคมเปญเรียกร้องให้ ‘ตรวจสอบ กกต.’ ผ่าน Change.org/ec เราจึงอยากให้คุณลองเลือกหนึ่งจากสองข่าวด้านล่างนี้ ว่าอันไหนข่าวจริง?


…..และตอบก็คือ

..

..

..

ทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง (!!!)

นอกจากจะผลักดันแคมเปญบน Change.org/ec เรียกร้องให้ตรวจสอบ กกต. ด้วยการขับเคลื่อนทางสังคมแล้ว เครือข่ายคนรุ่นใหม่ฯ ยังเดินหน้าใช้ช่องทางทางกฎหมายขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบการทำงานของ กกต. ด้วย ซึ่งล่าสุด ป.ป.ช. ได้เชิญตัวแทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่ฯ ไปแจงรายละเอียดเพิ่มเติม และจะใช้เวลาอย่างน้อย 180 วันเพื่อพิจารณาว่าจะตั้งกรรมการตรวจสอบ กกต. หรือไม่ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)

ส่วนเรื่องที่ไม่จริงก็คือ ความเชื่อที่ว่าเมื่อลงชื่อในแคมเปญบน Change.org ไปแล้วก็จบกัน หรือการเปลี่ยนแปลงตามข้อเรียกร้องจะเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติเมื่อได้ชื่อตามเป้า ความจริงก็คือมีการเคลื่อนไหวมากมายทั้งออนไลน์และออฟไลน์หลังจากที่ทุกคนลงชื่อแล้ว

อยากรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับแคมเปญบ้างสามารถติดตามอัพเดทที่ส่งตรงจากผู้เริ่มเรื่องรณรงค์ได้ทางอีเมล (ลงชื่อในแคมเปญไหน ก็จะได้อีเมลอัพเดทที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น) หรือติดตามได้ที่อัพเดทความคืบหน้าด้านล่างสุดของแคมเปญที่มาลงชื่อเอาไว้ ลงชื่อแล้วอย่าเพิ่งทิ้งกัน 🙂

ลักษณะของข่าวปลอมทั่วไป
1) พาดหัวหวือหวา เร้าอารมณ์เว่อร์วัง
2) ลิงก์ที่มาจากสำนักข่าวที่ดูชื่อแปลกๆ
3) เนื้อหาข่าวจงใจสร้างความเกลียดชัง
4) สะกดผิด
5) แหล่งที่มาของข่าวไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่มีอยู่จริง
6) ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับข่าว

ข้อแนะนำ
อ่านเนื้อหาให้ครบถ้วน อย่าอ่านเพียงแค่พาดหัว ลองสละเวลาสักนิดตรวจสอบแหล่งที่มาเทียบกับสำนักข่าวหลักอื่นๆ ที่สำคัญอย่ารีบแชร์ รออีกนิดอาจมีผู้เชี่ยวชาญออกมายืนยันหรือชี้แจงความปลอม

[ขอบคุณข้อมูลจาก echo Kapook และ ThumpSub.in.th]

อัพเดทล่าสุดของแคมเปญ ‘ขอให้ตรวจสอบการทำงานของ กกต.’

Written by
hatailimprayoonyong
June 21, 2019 11:25 am