Uncategorized

สิ่งที่ควรทำเพื่อสร้างเรื่องรณรงค์ที่น่าสนใจ

ในวันหนึ่งๆ มีผู้ริเริ่มเรื่องราวรณรงค์ดีๆ มากมาย น่าเสียดายที่หลายเรื่องกลับถูกมองข้ามไป แต่ change.org เชื่อว่าการสร้างแคมเปญที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องยาก และคุณเองก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เราขอแนะนำ 10 ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้เรื่องราวรณรงค์ของคุณน่าสนใจ และทำให้คนอยากลงชื่อ

1.หัวข้อที่สั้น กระชับ
ชื่อแคมเปญสั้นๆ จะทำให้คนจดจำและแชร์ต่อได้ง่าย ในตอนแรก การเรียกร้องให้กรมทางหลวงปลูกต้นไม้คืนสองฝั่งถนนธนะรัชต์ใช้ชื่อว่า “หยุด ’ซื้อเวลา’ – ปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูระ บบนิเวศน์สองทางขึ้นเขาใหญ่” และมีผู้ลงชื่อเพียงไม่กี่สิบคน แต่เมื่อเปลี่ยนชื่อแคมเปญเป็น ขอต้นไม้คืนทางขึ้นเขาใหญ่รายชื่อก็ค่อยๆ สูงขึ้นและสื่อก็ได้นำไปใช้พาดหัวอย่างแพร่หลาย

2. รูปถ่ายที่สรุปใจความสำคัญของแคมเปญได้
imageimageคุณซินดี้ แทนที่จะรณรงค์ให้ธุรกิจทุกประเภทหยุดขายหูฉลาม คุณซินดี้กำหนดเป้าหมายเฉพาะโรงแรม โดยเรียกร้องให้โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถอดหูฉลามออกจากเมนู และวันนี้โรงแรมกว่า 30 แห่งได้ประกาศเลิกเสิร์ฟหูฉลามแล้ว

4. เล่าจากประสบการณ์ส่วนตัวว่าปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการเรียกร้องคืออะไร
ประสบการณ์ส่วนตัวของคุณจะช่วยสร้างจุดเชื่อม และทำให้คนอื่นๆ มีอารมณ์ร่วม ดังที่คุณศจินทร์เรียกร้องให้บขส.หยุดฉายหนังที่มีความรุนแรงบนรถโดยสาร โดยเธอเล่าผ่านมุมมองของคนเป็นแม่

“หากพาลูกนั่งรถทัวร์แล้วต้องพบฉากเลือดสาดในหนังอีก ดิฉันยังจะนั่งเอามือปิดหูปิดตาลูกจนหนังจบ หรือว่าจะทำอะไรอย่างอื่นได้บ้าง”

5. ร้องเรียนกับผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง
หาว่าใครเป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง และสามารถจัดการกับข้อร้องเรียนของคุณได้อย่างแท้จริง เช่น แคมเปญหยุดนิรโทษกรรมเรือลากอวนเถื่อน ก็เรียกร้องกับกรมประมง ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ขณะที่คุณศจินทร์รณรงค์ให้บขส. เลิกฉายหนังที่มีความรุนแรงบนรถโดยสาร โดยร้องเรียนต่อผู้บริหารบขส. แทนที่จะเป็นกระทรวงคมนาคม

6. ถ้าสามารถแสดงให้เห็นว่าเรื่องที่รณรงค์เป็นปัญหาเร่งด่วนได้ คนจะสนใจลงชื่อเยอะขึ้น
imageฉลามและกระเบนไว้ในบัญชีอนุรักษ์หรือไม่ คุณจิรายุเชื่อว่าหากคนให้ความสนใจมากพอ สื่อก็จะให้ความสำคัญ และท่าทีของกรมประมงก็จะเปลี่ยนไป ด้วยเวลาเพียง 2 วัน เขาสามารถระดมรายชื่อถึง 5,000 คน เพราะคนรู้สึกว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาเร่งด่วน

7. อย่าลืมใส่อีเมลของผู้ที่คุณเรียกร้องให้ถูกต้อง
ทุกครั้งคนลงชื่อ ระบบจะส่งอีเมลไปหาผู้ที่คุณร้องเรียนโดยอัตโนมัติ ดังนั้น เช็คให้ดีก่อนว่าอีเมลถูกต้องหรือไม่

<img alt=”image” src=”http://static1.squarespace.com/static/5629e211e4b0e4a43215a99f/568195466bb3113e9db23b36/568195476bb3113e9db23c48/1451333124094/tumblr_inline_mq0k95Ezr91qz4rgp.png ก็ได้ พวกเราพร้อมให้คำปรึกษา

10. แชร์ให้คนรู้จัก
เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว ก็แชร์เรื่องรณรงค์ต่อให้เพื่อนๆ ได้เลย

ไปที่ Change.org เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

Facebook | Twitter

Change.org คือเว็บไซต์ที่ประชาชนทั่วไปทุกคนสามารถสร้าง webpage เพื่อรณรงค์ปัญหาใกล้ตัวให้ได้รับการแก้ไขและระดมความรวมมือเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆสู่สังคม

ตั้งแต่คุณแม่ที่รณรงค์ให้ยุติการฉายหนังโหดบนรถทัวร์ที่เมืองไทย ไปจนถึงการรณรงค์ให้ธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตในสหรัฐอเมริกา มีผู้ใช้ Change.org มากกว่า 35 ล้านคนในกว่า 196 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบัน Change.org มีสาขาในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยของไทยได้เริ่มเปิดทดลองใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม มีผู้ใช้แล้วกว่า 200,000 คน และมีการรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จไปแล้วมากมาย

Written by
Change.org
July 16, 2013 8:42 am